top of page

ประวัติวอลเลย์บอล

ต้นกำเนิดกีฬาวอลเลย์บอล

กีฬาวอลเลย์บอลถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1895 โดยนายวิลเลียม จี. มอร์แกน ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม วายเอ็มซีเอ เมืองฮอลโยค รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศอเมริกา ซึ่งได้เกิดขึ้นเพียง 1 ปี ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ โดยเขามีความคิดที่ต้องการให้มีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้งเพื่อออกกำลังกายพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก

เขาได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการ เล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่างเสาโรงยิมเนเซียม สูงจากพื้นประมาณ 6 ฟุต 6 นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและแขนตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางในของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลก็ใหญ่ หนักและแข็งเกินไป ทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บ

จนในที่สุดเขาจึงให้บริษัท Ant G. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่หุ้มด้วยหนังและบุด้วยยาง มีเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว มีน้ำหนัก 8-12 ออนซ์ หลังจากทดลองเล่นแล้ว เขาจึงตั้งชื่อเกมการเล่นนี้ว่า

"มินโทเนตต์" (Mintonette)

ค.ศ.1896 ได้มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟีลด์ (Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุมหลังจากที่ประชุมได้ชมการสาธิต ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Alfred T. Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโทเนตต์ (Mintonette) เป็น "วอลเลย์บอล" (Volleyball) โดยให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอลตกพื้น

ค.ศ. 1928 ดร.จอร์จ เจ ฟิเชอร์ (Dr. George J. Fisher) ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในระดับชาติ และได้เผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล

การเข้ามาในประเทศไทย

วอลเลย์บอลได้แพร่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงไหนนั้นยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่ชาวไทยบางกลุ่มเริ่มเล่นและแข่งขันวอลเลย์บอลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปี 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาเผยแพร่โดยอาจารย์นพคุณ พงษ์สุวรรณซึ่งจัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีและบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรกโดยใช้กติกาการเล่นระบบ 9 คน และตั้งแต่นั้นมากีฬาวอลเลย์บอลก็พัฒนาขึ้นมาโดยตลอด ต่อมาเมื่อปี 2500 ได้มีการประชุมหารือพิจารณาจัดตั้งสมาคมขึ้นมารับผิดชอบ จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (Amateur Volleyball Association of Thailand) อย่างเป็นทางการขึ้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 และเปลี่ยนระบบการแข่งขันเป็น 6 คน และต่อมาได้บรรจุเข้าในหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเมื่อปี 2521 หลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อปี 2524

ประวัติวอลเลย์บอลไทย ความเป็นมาทีมวอลเลย์ไทย

ประวัติวอลเลย์บอลไทย กีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทยนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่า ได้แพร่หลายเข้ามาในสมัยใด แต่พอจะประมาณได้ว่าการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลได้มีขึ้นในประเทศไทยกว่า 60 ปี โดยเล่นเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ

ในปี พ.ศ. 2476 กรมพลศึกษาเห็นว่าวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่นักเรียนทั้งหญิงและชาย สามารถเล่นได้ จึงได้จัดให้สอนวิชานี้ขึ้นในสถาบันพลศึกษา

ในปี พ.ศ. 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้น โดยอาจารย์ นพคุณ พงษ์สุวรรณ เป็นผู้แปลและท่านเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในกีฬาวอลเลย์บอลจึงได้รับการเชิญให้เป็นผู้บรรยาย เกี่ยวกับเทคนิควิธีเล่น ตลอดจนกติกาการแข่งขันแก่ครูพลศึกษาทั่วประเทศ ประมาณ 100 คน ในโอกาสที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จัดการอบรมขึ้น และในปีนี้เอง กรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีขึ้น และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงไว้ในการแข่งขันเป็นครั้งแรก พร้อมบรรจุไว้ในหลักสูตรของโรงเรียนพลศึกษากลางและกำหนดเป็นวิชาบังคับให้นักเรียนหญิงเรียนวิชาวอลเลย์บอลและเนตบอลในสมัยของนาวาเอกหลวงศุภชลาศัย ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา อย่างไรก็ตามการแข่งขันวอลเลย์บอลในสมัยนั้นไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก นักกีฬาต่างก็เล่นกันไปเพียงไม่ให้ผิดกติกาจึงทำให้การเล่นวอลเลย์บอลเสื่อมความนิยมไป แต่ยังคงมีการแข่งขันอยู่บ้างเป็นครั้งคราว

โลโก้.jpg

โลโก้ – ประวัติวอลเลย์บอลไทย

นักกีฬา.jpg

นักกีฬาไทย – ประวัติวอลเลย์บอลไทย

ในปี พ.ศ. 2476 กรมพลศึกษาเห็นว่าวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่นักเรียนทั้งหญิงและชาย สามารถเล่นได้ จึงได้จัดให้สอนวิชานี้ขึ้นในสถาบันพลศึกษา

ในปี พ.ศ. 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้น โดยอาจารย์ นพคุณ พงษ์สุวรรณ เป็นผู้แปลและท่านเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในกีฬาวอลเลย์บอลจึงได้รับการเชิญให้เป็นผู้บรรยาย เกี่ยวกับเทคนิควิธีเล่น ตลอดจนกติกาการแข่งขันแก่ครูพลศึกษาทั่วประเทศ ประมาณ 100 คน ในโอกาสที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จัดการอบรมขึ้น และในปีนี้เอง กรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีขึ้น และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงไว้ในการแข่งขันเป็นครั้งแรก พร้อมบรรจุไว้ในหลักสูตรของโรงเรียนพลศึกษากลางและกำหนดเป็นวิชาบังคับให้นักเรียนหญิงเรียนวิชาวอลเลย์บอลและเนตบอลในสมัยของนาวาเอกหลวงศุภชลาศัย ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา อย่างไรก็ตามการแข่งขันวอลเลย์บอลในสมัยนั้นไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก นักกีฬาต่างก็เล่นกันไปเพียงไม่ให้ผิดกติกาจึงทำให้การเล่นวอลเลย์บอลเสื่อมความนิยมไป แต่ยังคงมีการแข่งขันอยู่บ้างเป็นครั้งคราว

วิวัฒนาการวอลเลย์บอลไทย ประวัติสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย

หลังจากกีฬาเซียพเกมส์ครั้งที่ 1 สมาคมฯ มีกิจกรรมการแข่งขันชิงแชมป์ประเทศไทยระดับประชาชนเพียงรายการเดียว ปีละครั้งกับกีฬาแห่งชาติ (กีฬาเขตแห่งประเทศไทยเดิม จัดโดยองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย) ที่ทีมชาติลงแข่งขันไม่ได้เท่านั้นก่อนซีเกมส์ครั้งที่ 13 (2528) มีทีมชาติไทยไม่ได้พัฒนาเพราะได้แข่งขันในระดับนานาชาติเฉพาะกีฬาเซียพเกมส์และกีฬาซีเกมส์ (2 ปี ต่อครั้ง) กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ และได้มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันเยาวชนชายชิงชนะเลิศแห่งเอเชียครั้งที่ 1 ที่เกาหลีใต้ และทีมชายได้ไปแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกครั้งที่ 5 ที่โตเกียวเท่านั้น

ตั้งแต่ประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาติเป็นครั้งแรก ในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง (เซียพเกมส์) ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2502 จนถึงครั้งที่ 8 ทีมชายได้เหรียญทองเพียงครั้งเดียวในการแข่งขันครั้งที่ 1 แต่ยังได้เหรียญเงินและทองแดง ทุกครั้ง ยกเว้นครั้งที่ 5 ที่ไม่ได้ส่งแข่ง และครั้งที่ 7 ที่ไม่ได้เหรียญใดเลย ส่วนทีมหญิงมีโอกาสได้เหรียญทองในการแข่งขันครั้งที่ 4 และ 8 ซึ่งจัดการแข่งขันที่กรุงเทพฯ และในการแข่งขันครั้งอื่นๆ ได้เหรียญเงิน หรือทองแดงทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนชื่อการแข่งขันจาก เซียพเกมส์ เป็น ซีเกมส์ (Southeast Asian Games) ในการแข่งขันครั้งที่ 9 ทีม วอลเลย์บอล ชาย-หญิง ยังคงได้หรียญทองแดงส่วนในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพทั้ง 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 5 ปี 2509 ครั้งที่ 6 ปี 2513 และ ครั้งที่ 8 ปี 2521 ทีมวอลเลย์บอลไม่ประสบผลสำเร็จเพียงเข้าร่วมการแข่งขันในฐานะเจ้าภาพเท่านั้น

ทีมวอลเลย์บอลไทยประสบภาวะตกต่ำไม่ได้เหรียญใด ๆ เลย ถึง 3 ครั้งติดต่อกัน ตั้งแต่กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 10 – 12 ประกอบกับมีปัญหาด้านการบริหารสมาคม ทำให้เกิดความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารใหม่ โดยได้เรียนเชิญ นายพิศาล มูลศาสตรสาทร ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้นเข้ารับตำแหน่งนายกสมาคมฯ

เมื่อรับตำแหน่งนายกสมาคมฯ ปลัดพิศาลฯ ได้แนะนำให้เชิญผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเข้ามาร่วมบริหารในสมาคมฯ อีกมากมาย แม้ปลัดพิศาลฯ จะมีภารกิจมาก แต่ก็ให้ความสนใจกับงานของสมาคมฯ อย่างต่อเนื่อง

การที่สมาคมฯ มีฐานการทำงานที่แข็งแกร่งจากกระทรวงมหาดไทย ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศให้ความร่วมมือสนับสนุนวงการวอลเลย์บอล เป็นการกระจายฐานของกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยออกไปในวงกว้างทั่วประเทศ

ผู้บริหารของสมาคมฯ ในยุคต่อๆ มาได้ดำเนินงานตามนโยบายที่นายกฯ พิศาลฯ ให้ไว้มาโดยตลอด และสร้างโอกาสให้ผู้ฝึกสอนและนักกีฬาได้เรียนรู้การพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลอย่างต่อเนื่องจนผู้ฝึกสอนไทยมีความสามารถสร้างทีมแข่งขันในระดับทวีปและระดับโลก ประกอบกับสมาคมฯ มีแผนงานการปฏิบัติงานที่ชัดเจนตามปฏิทินที่กำหนดไว้ทุกปี และมีผู้ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจนสามารถจัดการแข่งขันระดับทวีปและระดับโลก และร่วมการแข่งขันระดับทวีปและระดับโลกเป็นประจำทุกปี

คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ในยุคต่อๆ มา ภายใต้การนำของนายกสมาคมฯ นายอารีย์ วงศ์อารยะ นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช และนายพงศ์โพยม วาศภูติ นายกสมาคมฯ คนปัจจุบัน ได้ทำหน้าที่ติดต่อกันมาตามลำดับ และในแต่ละยุคก็สามารถสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งภายในประเทศ ระดับทวีปและระดับโลกอย่างต่อเนื่อง

ประวัติ.jpg
ประวัติวอลเลย์บอลไทย ก่อนประสบความสำเร็จ อย่างเช่นปัจจุบัน
วิชา การสร้างเว็บเพ็จขั้นสูง  รหัสวิชา ว 30214
จัดทำโดย นางสาวจารุมน แก่นสงค์
เสนอ คุณครู ธวัชชัย พุ่มทองดี

โรงเรียนวัดป่าคาเจริญวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 จำนวนผู้เข้าชม  
bottom of page